หูไม่ได้ยิน เกิดจากอะไร มีปัจจัยเสี่ยงอะไรที่ทำให้สูญเสียการได้ยิน

หูไม่ได้ยิน
Categories:

หูเป็นอวัยวะสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการหูไม่ได้ยินนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ หรือเรียกว่าอาการหูดับ  คือ ภาวะที่ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินอย่างเฉียบพลันหรือประสาทหูเสื่อมอย่างเฉียบพลัน ทำให้ไม่ได้ยินเสียงใด ๆ อาการนี้มักเกิดขึ้นกับหูเพียงข้างเดียว และอาจเกิดในชั่วขณะ หรือเป็นเวลาหลายวัน ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการหูดับเกิดขึ้น คือสุญเสียการได้ยินจากความปิดปกติอื่นๆ ก็จะต้องมีการพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและการรักษา วันนี้เรามาดูถึงปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูไม่ได้ยินกันดีกว่า 

การได้ยินเสียง

ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ก่อนว่าการได้ยินเสียงนั้นมีกลไกอย่างไร หูของคนเราประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก อันได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นใน เมื่อคลื่นเสียงผ่านเข้าไปในหูชั้นนอก เยื่อแก้วหูจะสั่นสะเทือน ซึ่งเยื่อแก้วหูนั้นเชื่อมต่อกับกระดูกขนาดเล็กในหูชั้นกลาง 3 ชิ้น คือ กระดูกค้อน กระดูกทั่ง กระดูกโกลนกระดูกทั้ง 3 ชิ้น และเยื่อแก้วหูจะขยายแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียง ก่อนที่คลื่นเสียงจะผ่านเข้าไปในอวัยวะรูปหอยโข่ง (cochlea) ซึ่งเป็นโครงสร้างของหูชั้นใน อวัยวะรูปหอยโข่งซึ่งมีสารน้ำอยู่ด้านใน มีเซลล์ขนขนาดเล็กจำนวนมากซึ่งเชื่อมต่อกับเส้นประสาทการได้ยิน เซลล์ขนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการแปลงแรงสั่นสะเทือนให้เป็นกระแสไฟฟ้าประสาท ซึ่งจะถูกส่งต่อไปยังสมองเพื่อทำการแปลสัญญาณ ทำให้เรารับรู้ได้ยินเสียง

สาเหตุของหูไม่ได้ยิน

  1. ความผิดปกติของหูชั้นนอก เช่น ขี้หูอุดตัน รูหูตีบตัน มีเนื้องอกหรือขี้หูในรูหู
  2. ความผิดปกติของเยื่อแก้วหู (เยื่อแก้วหูทะลุ) จากเสียงที่ดัง ความกดอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน สิ่งแปลกปลอม หรือการอักเสบติดเชื้อ เยื่อแก้วหูทะลุทำให้สูญเสียการได้ยิน
  3. ความผิดปกติของหูชั้นกลาง เช่น หูน้ำหนวก กระดูกหูยึดหรือหลุดออกจากกัน
  4. ความผิดปกติของหูชั้นใน เกิดจากอายุที่มากขึ้นและการได้ยินเสียงดังเป็นเวลานาน ส่งผลให้เซลล์ขนอันบอบบางหรือเซลล์ประสาทภายในอวัยวะรูปหอยโข่ง (cochlea) เสื่อมสภาพ ทำให้การส่งผ่านคลื่นไฟฟ้าไปยังสมองไม่มีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่การสูญเสียการได้ยิน ผู้ป่วยจะได้ยินเสียงสูงได้ไม่ชัดเจนอู้อี้และมีปัญหาเรื่องการแยกแยะเสียงพูดออกจากเสียงรบกวน

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้สูญเสียการได้ยิน

1. อายุที่เพิ่มขึ้น โดยหูชั้นในจะค่อยๆ เสื่อลงามอายุ

2. เสียงดัง การได้ยินเสียงดังติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้หูชั้นในได้รับความเสียหายและสัญเสียการได้ยินได้

3. ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมอาจทำให้หูชั้นในมีความไวต่อการถูกทำลายจากการได้ยินเสียงดัง

4. การใช้ยาบางชนิด 

5. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบมักทำให้มีไข้สูงและอาจทำให้เซลล์ขนในหูชั้นในถูกทำลาย